วันนี้ (3 สิงหาคม 2567) นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ พร้อมด้วยนายพีระพงศ์ หมื่นผ่อง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสารณภัยจังหวัดศรีสะเกษ (ปภ.) เดินทางดูปริมาณน้ำในแม่น้ำมูลที่เขื่อนหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อดูปริมาณน้ำที่ไหลในแม่น้ำมูลที่อาจจะมีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่บริเวณใกล้แม่น้ำมูล และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเขื่อนหัวนา ปัจจุบันมีระดับ+111.24 ม.รทก. (ระดับเก็บกัก +112.00 ม.รทก.) ต่ำกว่าระดับเก็บกัก 36 เซนติเมตร แขวนบานระบายทั้ง 14 ช่องบาน อัตราการระบาย 430.61 ลบ.ม./วินาที(อัตราการระบายสูงสุด 4,540 ลบ.ม./วินาที) และระดับน้ำในแม่น้ำมูลได้ลดลง 5 เซนติเมตรจากเมื่อวานนี้
หลังจากนั้นได้เดินทางไปตรวจปริมาณน้ำในแม่น้ำมูลที่สถานี M7. อ.เมือง จ.อุบลราชธานี จากการตรวจสอบพบว่า มีระดับน้ำที่ 110.11 ม.รทก. (ระดับเก็บกัก 112.00 ม.รทก.) ต่ำกว่าระดับเก็บกัก 1.89ซม. มีอัตราการระบาย 1,309.50 ลบ.ม./วินาที(อัตราการระบายสูงสุด 2,300 ลบ.ม./วินาที) โดยระดับลดน้ำลดลง 4 ซ.ม. จากเมื่อวานนี้เช่นกัน
ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำมูลบริเวณจุดต่างๆ มีระดับน้ำที่ลดลงเช่นกัน และมีระดับน้ำยังต่ำกว่าตลิ่งมาก ได้แก่ M5. อ.ราษีไศลต่ำกว่าตลิ่ง 7.21 เมตร M182. อำเภอกันทรารมย์ ต่ำกว่าตลิ่ง 5.34 เมตร ส่วนลำน้ำในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ M9.(ลำห้วยสำราญ) อ.เมือง ต่ำกว่าตลิ่ง 4.83 เมตร M176(ลำห้วยขยูง) อ.กันทรารมย์ ต่ำกว่าตลิ่ง 8.25 เมตร M190(ลำห้วยทับทัน) ต่ำกว่าตลิ่ง 2.53 เมตร เป็นต้นสำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 16 แห่งในจังหวัดศรีสะเกษนั้น ปัจจุบันเก็บกักได้ 136.18 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 65.37 % (ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักทั้ง 16 แห่งมีความจุ 208.34 ล้าน ลบ.ม.) โดยมีอ่างเก็บน้ำจำนวน 2 แห่งที่มีปริมาณน้ำเกินเก็บกัก 100% ซึ่งทางโครงการชลประทานศรีสะเกษ ได้มีการระบายน้ำ และไม่ให้มีผลกระทบกับราษฎรด้านท้ายน้ำ และเฝ้าสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
อนึ่ง จังหวัดศรีสะเกษเข้าสู่ สถานการณ์“ลานีโย่” จากขัอมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าเดือนสิงหาคมนี้ จะมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา และจากการวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการชลประทานศรีสะเกษ พบว่า เดือนกันยายน จังหวัดศรีสะเกษจะมีฝนตกมากที่สุด ทั้งค่าเฉลี่ยในรอบ 30 ปีและเทียบกับปี 2566