Newstimestory

คู่ค้าเอสเอ็มอีของซีพีเอฟ ชู เครดิตเทอม 30 วัน ต่อเนื่อง 1 ปี ช่วยธุรกิจฝ่าวิกฤต เดินหน้าเข้มแข็ง พร้อมปรับตัวรับ next normal


สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งถือเป็นฐานรากของเศรษฐกิจไทย  ขณะที่ ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดย่อม   SMEs คู่ค้าธุรกิจของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ชู  โครงการ Faster Payment ปรับลดเครดิตเทอมภายู่ใน 30 วัน เป็นประโยชน์ต่อเอสเอ็มอี ช่วยรักษากิจการให้อยู่รอดท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19  และสร้างความมั่นใจให้เอสเอ็มอีแข็งแกร่งรับมือกับ next normal ได้

ตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่ซีพีเอฟได้ดำเนินโครงการ Faster Payment  เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการปรับลดระยะเวลาเครดิตเทอม หรือ การชำระเงินค่าสินค้าและบริการภายใน 30 วันให้แก่คู่ค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของซีพีเอฟประมาณ 6 พันราย ซึ่งเป็นแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี บรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี ช่วยรักษาธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ และเป็นต้นทางที่ช่วยให้กระบวนการผลิตอาหารของซีพีเอฟไม่หยุดชะงัก ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง


นายนิวัติ ดีงาม กรรมการผู้จัดการ  บริษัท ภูรินทร์ กรีนฟู้ดส์ โปรดักส์ ผู้จัดหากระเทียมสด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน GAP แก่ซีพีเอฟ กล่าวว่า การปรับลดเวลาเครดิตเทอมภายใน 30 วัน เป็นโครงการที่ดี ช่วยตอบโจทย์ SMEs จัดหาสินค้าทางการเกษตรซึ่งจำเป็นต้องมีเงินหมุนเวียนที่คล่องตัว การได้พันธมิตรทางการค้าที่ดี อย่าง ซีพีเอฟ ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีเงินทุนในการบริหารธุรกิจไม่มาก ม่สามารถประคับประคองให้อยู่ได้แม้ว่ายอดขายลดลง ไม่ต้องปิดกิจการหรือเลิกจ้างคนงาน และยังช่วยรักษาอาชีพเกษตรกรปลูกกระเทียมมีรายได้ที่มั่นคงในช่วงภาวะโควิด
   
"เครดิตเทอม 30 วัน ไม่เพียงอุ้มให้เอสเอ็มอีอยู่ต่อได้ ยังมีส่วนช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 100 ครัวเรือน มีตลาดและรายได้ที่มั่นคงท่ามกลางวิกฤต และช่วยหนุนให้เกษตรกรเห็นความสำคัญในการยกระดับการเพาะปลูกตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices: GAP) มากขึ้น  ซึ่งตอบโจทย์แนวโน้มตลาดหลังโควิดที่ผู้บริโภคต้องการสินค้าเกษตรปลอดภัย รับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น” นายนิวัติกล่าว
 
ด้าน นายเสกภณ บุญเตชะธนาวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขอบคุณ 2562 ผู้จัดจำหน่ายสินค้าสำหรับห้องปฏิบัติการด้านความปลอดภัยอาหาร กล่าวว่า โครงการเครดิตเทอม 30 วัน มีส่วนช่วยผู้ประกอบการขนาดย่อมในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้มาก ช่วยลดการกู้เงินมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้ต้นทุนของสินค้าลดลง  และยังเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการปรับตัวรับเทรนด์ next normal เช่น การหาซัพพลายเออร์ภายในประเทศมากขึ้น ลดการพึ่งพิงสินค้านำเข้า การขยายตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพตอบโจทย์ผู้บริโภคที่จะเน้นเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัยเป็นสำคัญ อย่าง ตลาดสินค้าฮาลาล อาหารแช่แข็ง ตลอดจน บริษัทยังพัฒนาทักษะบุคลากรขายทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ปรับตัวสู่การค้า next normal   
 
"ผมมั่นใจว่า เราจะสามารถผ่านวิกฤตครั้งนี้ได้ ด้วยโครงการเครดิตเทอม 30 วัน  ช่วยธุรกิจลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนดอกเบี้ยลง ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจรายเล็กอยู่รอดได้ และจากบทเรียนจากวิกฤตครั้งนี้ทำให้เราให้ความสำคัญกับการปรับตัวอย่างรวดเร็ว" นายเสกภณกล่าว 


สำหรับนางสาวนฤมล แสงมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอ็มพี ยูนิฟอร์ม จำกัด ผู้ผลิตชุดยูนิฟอร์มให้อุตสาหกรรมอาหารทั่วประเทศ กล่าวว่า จากสถานการณ์ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของลูกค้าบริษัทดีเอ็มพีต้องลดหรือหยุดสั่งซื้อสินค้า การได้รับเครดิตเทอมที่เร็วขึ้นจากซีพีเอฟจึงช่วยประคองให้ธุรกิจอยู่ต่อได้ และเชื่อว่าวิกฤตระลอกนี้จะยืดเยื้อ บริษัทจึงเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดค่าใช้จ่ายพร้อมเปิดประสบการณ์และทักษะใหม่ให้กับทีมงานเพื่อมุ่งขยายช่องทางการตลาดออนไลน์มากขึ้น

นางสาวธิดารัตน์ เดชายนต์บัญชา รองกรรมการผู้จัดการ ด้านจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ กล่าวว่า ซีพีเอฟได้ดำเนินการให้เครดิตเทอม 30 วันแก่คู่ค้าเอสเอ็มอี 6 พันรายตั้งแต่ตุลาคม 2563 จนถึงกันยายน 2564 หรือ 12 เดือน ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาจะต่อเวลาโครงการออกไปอีก เพื่อช่วยให้ธุรกิจของคู่ค้าเอสเอ็มอีสามารถรักษากิจการฝ่าวิกฤตไปได้ นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังเตรียมพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าเอสเอ็มอี ทั้งในด้านมาตรฐานการผลิต แนวทางการบริหารจัดการแรงงานที่ได้มาตรฐานสากล ตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคมและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คู่ค้าเอสเอ็มอีของซีพีเอฟเติบโตรับกับวิถี Next Normal ได้อย่างเข็มแข็งและมั่นคงต่อไป

ใหม่กว่า เก่ากว่า