“ไข้หูดับไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขลักษณะของผู้บริโภค โอกาสติดเชื้อมีสองทางคือทางการกินและการสัมผัสเชื้อโดยตรง ดังนั้นการป้องกันคือคำตอบที่ดีที่สุด โดยต้องเลิกรับประทานเนื้อสัตว์ดิบ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบอย่างเด็ดขาด กรณีที่มีบาดแผลที่มือ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเนื้อสัตว์หรือเลือดสัตว์ โดยต้องสวมถุงมือป้องกัน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากเชื้อที่อาจปนเปื้อนจากแผลที่มือเข้าสู่เนื้อหมูหรือจากเนื้อหมูเข้าสู่แผล ต้องแยกอุปกรณ์สำหรับอาหารดิบและอาหารสุกออกจากกัน เพื่อป้องกันอีกระดับหนึ่ง เช่นการใช้เขียง หรือการใช้ตะเกียบสำหรับคีบเนื้อสด และเนื้อสุก ควรแยกกันด้วย จึงจะปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ” ผศ.น.สพ.ดร.สุเจตน์ กล่าว
นอกจากนี้ ขอเน้นย้ำผู้บริโภคให้หลีกเลี่ยงการรับประทานหมูที่ไม่ทราบแหล่งที่มา หรือจากแหล่งจำหน่ายที่ไม่ผ่านการรับรองของกรมปศุสัตว์ ควรเน้นเลือกซื้อเนื้อหมูจากฟาร์มมาตรฐาน GAP หรือ GFM และผ่านโรงฆ่าที่ได้มาตรฐาน จำหน่ายในสถานที่จำหน่ายที่กรมปศุสัตว์รับรอง หรือสังเกตเครื่องหมาย “ปศุสัตว์ OK” ที่ปัจจุบันกระจายอยู่ทั่วประเทศ มากกว่า 7 พันจุดทั่วประเทศ
ส่วนวิธีการป้องกันสำหรับผู้ทำงานที่ต้องใกล้ชิดหรือสัมผัสตัวหมู เนื้อ เลือด ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน อาทิ รองเท้าบู๊ท ถุงมือยาง สวมเสื้อผ้าที่รัดกุม หากมีบาดแผลต้องปิดให้มิดชิดหรือสวมถุงมือ ล้างและฟอกสบู่ทุกครั้งที่สัมผัสหมูดิบหรือชำแหละหมู สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย 100% หมั่นล้างมือทุกครั้ง ซึ่งนอกจากจะป้องกันไข้หูดับแล้ว ยังช่วยป้องกันเชื้อโควิด-19 อีกด้วย