โดย นายสัตวแพทย์ พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล
รองกรรมการผู้จัดการด้านมาตรฐานอาหารสากล ซีพีเอฟ
การระบาดของเชื้อไข้หวัดนกชนิดรุนแรง 5 ชนิด ได้แก่ H5N1 H5N5 H5N6 และ H5N8 รวมทั้ง H5Nx (ไม่สามารถแยก N ได้) ในทวีปยุโรป ทั้งเยอรมนี โปแลนด์ ฯลฯ รวมถึงทวีปเอเชีย ในญี่ปุ่น อินเดีย ไต้หวัน อิหร่าน เวียดนาม อิรัก กัมพูชา และเกาหลีใต้ ตามประกาศขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (World Organization for Animal Health or Office International des Epizooties : OIE) รวมถึงเคสล่าสุด ที่ประเทศรัสเซีย ที่พบการติดเชื้อสายพันธ์ใหม่ H5N8 ในมนุษย์ เป็นครั้งแรกของโลก ทำให้ทุกประเทศต่างต้องตั้งการ์ดเฝ้าระวังและป้องกันโรคนี้อย่างเข้มแข็งกันอีกยก หลังจากซ้อมฟุตเวิร์คอย่างต่อเนื่องมาตลอด
สำหรับประเทศไทย นำทัพโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมปศุสัตว์ ที่ได้สั่งการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการคุมเข้มป้องกันเต็มพิกัดทุกพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วไทย โดยเฉพาะจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
ถือเป็นโชคดีของประเทศไทยที่ทุกฝ่ายต่างเข้มแข็ง และร่วมกันปกป้องอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกของเรา ไม่ให้ไข้หวัดนกเล็ดรอดเข้ามาได้ เพราะไทยมีความตื่นตัวนับตั้งแต่มีการระบาดในประเทศครั้งแรก เมื่อปี 2547 ซึ่งเวลานั้นกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ผนึกกำลังทุกภาคส่วนเพื่อแก้ปัญหาในทันที ทำให้ไทยสามารถป้องกันการระบาดของโรคนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่พบการติดเชื้อนี้ในคนตั้งแต่ปี 2549 และคงสถานะประเทศปลอดไข้หวัดนกตามรายงานของ OIE นับจากปี 2551 จนถึงปัจจุบัน
นายสัตวแพทย์ พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล |
โครงการนี้ดำเนินการด้วยมาตรการเชิงรุกใน 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1.หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Common Biosecurity) ที่มีมาตรการป้องกันโรคที่สอดคล้องกันตลอดห่วงโซ่การผลิต 2. การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก (Surveillance) ทั้งภายในคอมพาร์ทเม้นต์และพื้นที่กันชน รัศมี 1 กิโลเมตร รอบฟาร์ม 3. การควบคุมโรค (Control Measure) และ 4.การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability System) ซึ่งหลักการทั้ง 4 ประการ เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยการผลิตสัตว์ปีกปลอดไข้หวัดนก ที่สำคัญ บริษัทยังพัฒนามาตรการวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) ด้วยหลักการ Hazard Analysis & Critical Control Point สำหรับโรคไข้หวัดนก ตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์ เพื่อการป้องกันโรคอย่างเข้มแข็ง รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกรในโครงการคอนแทร็คฟาร์มของบริษัท ให้จัดทำระบบคอมพาร์ทเม้นต์ โดยมีสัตวแพทย์ของบริษัทให้คำแนะนำใกล้ชิดและเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจากกรมปศุสัตว์ตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการป้องกันโรคอย่างยั่งยืน
ระบบคอมพาร์ทเม้นต์ของบริษัท ยึดหลักป้องกันตั้งแต่ต้นทาง โดยมีสัตว์เป็นศูนย์กลาง ด้วยการเลี้ยงในโรงเรือนปิดปรับอากาศ (EVAP) ใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุม เจ้าหน้าที่สัตวบาลจึงไม่จำเป็นต้องเข้าไปภายในโรงเรือน สามารถตรวจสอบการเลี้ยงผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยการดูแลการเลี้ยงผ่านกล้องวงจรปิด ที่สำคัญยังแบ่งพื้นที่การเลี้ยงและพื้นที่อยู่อาศัยของบุคลากรออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้โอกาสเสี่ยงที่จะสัมผัสตัวไก่น้อยลง ถือเป็นการลดความเสี่ยงที่จะนำเชื้อเข้าสู่ตัวสัตว์ จึงมั่นใจได้ว่าไก่ที่ผลิตด้วยระบบคอมพาร์ทเมนท์สะอาดและปลอดภัย
ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ซีพีเอฟมีการพัฒนาระบบคอมพาร์ทเม้นต์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจุดเด่นของบริษัทที่เป็นอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปครบวงจร เอื้อประโยชน์ให้สามารถควบคุมคุณภาพและตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต ซึ่งช่วยป้องกันโรคสัตว์ปีกที่อาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต (emerging disease) ตลอดจนช่วยสนับสนุนการค้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกระหว่างประเทศ
ความสำเร็จทั้งหมดนี้ เข้าตาคณะผู้แทนอนุภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ OIE ที่ได้ชมความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบคอมพาร์ทเม้นต์ ของบริษัท โดยนำข้อมูล ความรู้ และความสำเร็จในการพัฒนาต่อยอดการจัดการตามระบบคอมพาร์ทเม้นต์ ของภาครัฐและเอกชนของไทย ไปถ่ายทอดให้ผู้เกี่ยวข้องในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิก OIE ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้นำไปประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับการป้องกันโรคไข้หวัดนกในแต่ประเทศต่อไป
การป้องกันและตรวจสอบอย่าเคร่งครัดด้วย “ระบบคอมพาร์ทเม้นต์” ถือเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ของความสำเร็จ ในการป้องกันโรคไม่เฉพาะไข้หวัดนก แต่ยังเป็นปราการสำคัญในการป้องกันโรคสัตว์ปีกอื่นๆได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันการสร้างอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืน
คลิ๊กชม คลิปวีดีโอ “Compartment ซีพีเอฟถ่ายทอดเทคนิคป้องกันหวัดนก”